วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อาจารย์ต่างชาติเขียนบทความ 'การศึกษาไทย ระบบการศึกษาแย่ที่สุดในอาเซียน'

อาจารย์ต่างชาติเขียนบทความ 'การศึกษาไทย ระบบการศึกษาแย่ที่สุดในอาเซียน'

  Cassandra James อาจารย์ชาวต่างชาติที่ได้มีโอกาสเดินทางมาสอนในประเทศไทย ในฐานะครูสอนภาษาอังกฤษเป็นเวลากว่า 3 ปี ได้เขียนบทความหนึ่งขึ้นในปี 2008 ก่อนที่ทางสำนักข่าว CNN จะหยิบมาเผยแพร่อีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว
เนื้อหาของบทความนั้นอยู่ในหัวข้อ ระบบการศึกษาไทย คือหนึ่งในระบบการศึกษาที่ ล้มเหลวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตกต่ำลงทุกปี มีใจความที่สะกิดใจคนไทยเราทุกคนทีเดียว….
 

 
- ระบบการศึกษาของไทยแย่ ห้องเรียนขนาดใหญ่ นักเรียนขาดแรงผลักดัน เพราะแม้ว่าพวกเขาจะสอบตก ก็ยังสามารถผ่านไปเรียนในระดับถัดไปได้
- โรงเรียนอยู่ภายใต้ระบบราชการอันเทอะทะของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นหนึ่งในหน่วยงานไร้ประสิทธิภาพที่สุดของโลก
- กฎระเบียบและข้อปฏิบัติ รวมถึงหลักสูตรมีการเปลี่ยนแปลงแทบจะทุกปี แนวทางที่ใช้ในปีที่แล้ว พอปีการศึกษาถัดมาก็ต้องเปลี่ยนใหม่
- ครูได้รับคำสั่งให้แกล้งปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อเด็กนักเรียนลอกการบ้านมาส่งก็ถือว่าปล่อยผ่านไป รวมถึงการสอบตกด้วย จะปล่อยให้นักเรียนผ่านชั้นไปได้

 
- กระทรวงศึกษาธิการมีไอเดียเลิศๆมาให้ทุกปี ในขณะที่เขียนบทความก็บังคับให้อาจารย์ต่างชาติไปอบรมคอร์สวัฒนธรรมไทยเพื่อต่อใบอนุญาต ทั้งๆที่หลายคนอยู่มานานจนเข้าใจ และยังต้องจ่ายเงินเองกว่า 3,500-9,000 บาท
- จากข้อด้านบน ทำให้อาจารย์ที่ผู้เขียนรู้จัก 2 ราย (เป็นคนที่มีฝีมือ)ย้ายไปสอนที่ประเทศญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้แทน
- ประเทศอื่นๆในอาเซียน มีทั้งเงินเดือนแก่อาจารย์ต่างชาติ และนโยบายการศึกษาที่ก้าวหน้ากว่า ทำให้ดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถในการสอนไป
- โรงเรียนที่ผู้เขียนได้มีโอกาสสอน มีอาจารย์คอมพิวเตอร์โดนตัวแทนของกระทรวงศึกษาธิการตำหนิว่า ปล่อยให้เด็กใช้แกรมมาร์บนการ์ดวันแม่ผิดวิธี ทั้งๆที่จดหมายซึ่งมาจากหน่วยงานราชการ บางฉบับแกรมมาร์แย่ซะจนหัวหน้าผู้เขียนโยนลงถังขยะ!!
 

 
- นักเรียนไม่ได้ฝึกทักษะ Critical Thinking  ขณะที่จำนวนนักเรียนต่อห้องก็เยอะเกินไป จนกระทั่งอาจารย์ดูแลได้ไม่ทั่วถึง
- โดยเฉพาะในโรงเรียนรัฐ อุปกรณ์สื่อการสอน และเครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ มีไม่เพียงพอ
- งบที่จะจ่ายให้ครูต่างชาติก็มีน้อย ซึ่งทำให้ได้คุณภาพไม่ดีนัก บางคนเป็นเพียงชายแก่ที่ไม่มีวุฒิด้านการสอน มาที่เมืองไทยเพราะผู้หญิง และลงเอยด้วยงานครูสอนภาษา
- สังคมไทยเป็นสังคมรักษาภาพลักษณ์ เห็นภาพลักษณ์ภายนอกและคะแนนที่ออกมา ดีกว่าความรู้ที่อยู่ในสมอง เพราะฉะนั้นปัญหาเหล่านี้มันก็จะยังคงเกิดต่อไป และการศึกษาไทยก็โดนแซงหน้าไปทุกๆวัน…

ที่มา:http://www.enn.co.th/10507




การศึกษาไทยลง “เหว” เพราะหลักสูตร “เลว” รังแกเด็ก

การศึกษาไทยลง “เหว” เพราะหลักสูตร “เลว” รังแกเด็ก



โดย...กิตติศักดิ์ โถวสมบัติ นักปฏิวัติการศึกษาไทย
     
       "The only thing that interferes with my learning is my education." Albert Einstein (1879-1955)
     
       ลูกศิษย์ของผมจำนวนไม่น้อยต้องประสบกับปัญหาอันเป็นวิกฤตการณ์ของชีวิตในวันที่ต้องตัดสินใจเลือกทางเดินให้กับชีวิตของตน หลายคนสับสน ทางเดินมืดบอด เพราะไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อ ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว ตนเองชอบอะไรกันแน่ จิตวิตกจนถึงกับพาตัวเองเข้าสู่ภาวะเครียดสะสม ชีวิตเต็มไปด้วยความทุกข์ หนักเข้ากลายเด็กซึมเศร้า
     
       น้ำตาของคนเป็นครูอย่างผมไหลรินด้วยความเวทนาในชะตากรรมของนักเรียนนอันเป็นผลมาจากระบบการศึกษาที่อัปรีย์ ปราศจากทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน
     
       ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้คำถามผุดขึ้นมาในใจของผมว่า
     
       อะไรคือปรัชญาของการศึกษาไทย?
     
       อะไรคือเป้าหมายสูงสุดของการศึกษาไทย?
การศึกษาไทยลง “เหว” เพราะหลักสูตร “เลว” รังแกเด็ก ตอนที่ 1 : กว่าจะรู้จัก (ตัวตน) ก็สายเสียแล้ว!
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
       หากเปรียบการศึกษาเป็นโรงงานที่เราใส่วัตถุดิบเข้าไป ผ่านกระบวนการผลิต คำถามที่ควรได้รับคำตอบก็คือ สุดท้ายแล้ว เราต้องการผลิตภัณฑ์ออกมามีหน้าตาเป็นอย่างไร?
     
       การศึกษาไทยกำลังสร้าง “คน” แบบไหนกันแน่?
     
       เพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ผมขอเล่าชะตากรรมอันแสนหดหู่ของเด็กนักเรียนไทยเปรียบเทียบไปพร้อมๆ กันกับระบบการศึกษาของประเทศๆ หนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่า เป็นระบบการศึกษาที่เก่าแก่และดีที่สุดระบบหนึ่งของโลก:
     
       “ระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ”
     
       ในขณะที่ปรัชญาการศึกษาของไทยเต็มไปด้วยความคลุมเครือ ประเทศอังกฤษประกาศปรัชญาการศึกษาของตนชัดเจนว่า “ให้ทุกคนได้เรียนในสิ่งที่ตนเองรัก ตนเองถนัด และมีความสุขอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิตและการทำงาน” การศึกษาของประเทศนี้มุ่งผลิตคนที่มีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผ่านการจัดการเรียนการสอนชนิดคุณภาพคับคั่งเข้มข้น นักเรียนมีโอกาสในการเลือกเส้นทางการเรียนและการประกอบอาชีพด้วยตนเอง โดยสิ่งที่นักเรียน “เลือก” เรียนนั้นจะสอดคล้องและเหมาะสมกับความถนัด ความชื่นชอบของแต่ละบุคคล ลักษณาการเช่นนี้มิอาจพบได้ในบ้านเรา เพราะดูเหมือนว่า เด็กนักเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยมีชีวิตเป็นของตนเองหรืออาจกล่าวได้ว่า ไม่เคยรู้จักตัวเองเลยด้วยซ้ำ เพราะเลือกเรียนตามกระแสสังคม เลือกกทางเดินชีวิตไปตามความเชื่อฝังหัวที่ถูกยัดเยียดให้จากครู อาจารย์หรือแม้แต่พ่อแม่ของเด็กเอง
     
       “เด็กเก่งไปเรียนหมอหรือไม่ก็เรียนวิศวะ โง่มาหน่อยหรือสอบอะไรไม่ติดก็ไปเรียนครู!”
     
       ประโยคอันโง่เขลาเบาปัญญานี้ยังคงถูกเอ่ยเอื้อนอยู่เสมอ ที่น่ากลัวยิ่งไปกว่านั้น เด็กบางคนไม่ยอมเรียนในสิ่งที่ตนเองชอบเพราะรายได้น้อย แต่กลับทนเรียนในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบเพียงเพื่อหวังการได้รับค่าตอบแทนหรือรายได้ที่สูงในอนาคต
     
       ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า “เงิน” อาจเป็นปรัชญาการศึกษาไทย
     
       ในประเทศอังกฤษ นักเรียนแต่ละคนจะได้ค้นหาตัวตนว่า ตนเองชอบอะไร ถนัดอะไร มีความสุขกับอะไร ผ่านการทดสอบที่เรียกว่า Career Testing ซึ่งเริ่มทำตั้งแต่ในขณะที่นักเรียนยังเรียนอยู่ใน Year 8 หรือประมาณ ม.๑ บ้านเรา โดยเป็นการทดสอบที่มีระยะเวลาต่อเนื่องประมาณหนึ่งเดือน และมีรูปแบบการทดสอบที่หลากหลาย มิใช่เป็นเพียงแค่ Questionnaire เท่านั้น ผลการทดสอบของเด็กแต่ละคนจะถูกวิเคราะห์และถูกประเมินโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการมนุษย์เพื่อวางแผนการเรียนการสอนให้กับเด็ก โดยมีโรงเรียนและพ่อแม่ของเด็กมาร่วมรับรู้และกำหนดแนวทางของเด็กไปด้วยกัน เหตุผลที่ระบบการศึกษาอังกฤษทดสอบความถนัดของเด็กตั้งแต่อายุยังน้อยเป็นเพราะว่า หลักจิตวิทยาการศึกษาของประเทศอังกฤษเชื่อว่า “เด็กหลังจากอายุ ๑๔-๑๕ ไปแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนลักษณะนิสัยและความถนัดได้มากนัก” การช่วยให้เด็กได้ ค้นพบตัวตน รู้จักตัวเอง (ซึ่งสอดคล้องกับความหมายของคำว่าการศึกษา หรือสิกขาในภาษาบาลี)ได้ทันเวลาจึงเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและควรค่าอย่างยิ่งแก่การกระทำ
     
       เมื่อนักเรียนขึ้น Year 9 (อายุประมาณ ๑๔ ปี) จะมีการทดสอบอย่างเดียวกันนี้ที่เข้มข้นกว่าเดิมเพื่อสร้างความชัดเจนให้กับนักเรียนมากยิ่งขึ้น โดยการทดสอบจะมุ่งเน้นไปที่คุณลักษณะสามด้านของเด็กดังต่อไปนี้ 1.Interest (ความสนใจ) 2.Personality (บุคลิกภาพ) และ 3.IQ (ความถนัดแต่ละด้าน)
     
       การทดสอบนี้ละเอียดถึงขนาดว่า สามารถวางอนาคตกำหนดชีวิตของเด็กได้เลย ยกตัวอย่างเช่น เด็กคนหนึ่งชื่นชอบและสนใจดนตรีมากๆ แต่บุคลิกภาพขาดความกล้าแสดงออก และยังมีความถนัดทางด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ผลการทดสอบจะถูกวิเคราะห์อย่างพินิจใคร่ครวญจากครูและนักจิตวิทยาเพื่อหาว่า นักเรียนคนนี้เหมาะกับการเรียนต่อด้านไหนและสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง ในกรณีของเด็กตัวอย่างข้างต้น ผลออกมาว่า เด็กควรเรียนเพื่อเป็น Acoustical Engineer หรือ Sound Engineer มากกว่าที่จะเป็นนักดนตรี
     
       การทำแบบทดสอบ Career and Personality Testing ดังกล่าวนี้ ทำให้นักเรียนเข้าใจและรู้จักตนเองมากยิ่งขึ้น ผมเชื่อว่า การรู้เรื่องราวสิ่งต่างๆรอบตัว แต่กลับไม่รู้จักตัวเอง ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ไม่สามารถบอกได้ว่า เราชอบอะไร เรารักอะไร เราอยากเรียนอะไร ไม่รู้ว่า เป้าหมายที่แท้จริงในชีวิตของตนเองคืออะไร เป็นความเสี่ยงอย่างมหันต์อันเป็นเส้นทางสายมรณะที่จะนำพาชีวิตไปสู่ความล้มเหลวพินาศย่อยยับ
     
       การรู้จักตัวเอง (know thyself หรือในภาษาละตินว่า nosce te ipsum) จึงเป็นสิ่งที่ระบบการศึกษาควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก Socrates นักปรัชญาอมตะชาวกรีกกล่าวว่า “An unexamined life is not worth living.” ว่าไปแล้วก็น่าเศร้า ในขณะที่เด็กอังกฤษอายุประมาณ ๑๔-๑๕ ทราบเป้าหมายชีวิตและมีทางเดินที่แน่ชัด เด็กไทยจำนวนไม่น้อยตัดสินใจ(มีทั้งที่ตัดสินใจเอง และคนอื่นตัดสินใจให้)เรียนสายวิทย์ไม่ใช่เพราะชอบ แต่เพราะเกรดถึง! ตรงกันข้าม นักเรียนบางคนชอบเรียนวิทยาศาสตร์แต่เกรดไม่ถึงก็ไม่สามารเรียนได้ ต้องจำใจเข้าเรียนสายศิลป์ ที่น่าเวทนายิ่งกว่านั้นก็คือ เรียนมาจวนจะจบ ม.๖ แล้ว นักเรียนจำนวนไม่น้อยยังไม่รู้เลยว่า จะเรียนอะไรต่อ นั่นก็เป็นเพราะว่า เด็กไทยสอบวัดแววความถนัดกันในชั้นระดับ ม.๖ ซึ่งเป็นการทดสอบความถนัดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงโดยใช้แบบทดสอบเพียงลักษณะ เดียวคือแบบปรนัย ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ขาดความคงเส้นคงวา และได้ข้อมูลเพียงมิติเดียวเท่านั้น การวัดแววในลักษณะนี้จึงไม่ต่างอะไรจากการสุ่มทดสอบแหล่งน้ำเพียงสองสามแหล่ง แล้วสรุปเหมารวมว่าน้ำทั้งประเทศเป็นอย่างไร!
     
       มีแต่คนสิ้นคิดเท่านั้นที่เชื่อถือวิธีการเช่นนี้!
     
       ผลจากการสอบวัดแววลวงโลก เด็กไทยจำนวนไม่น้อยจึงเข้าไปเรียนในสาขาที่ตนเองไม่ได้รัก ไม่ได้ชอบ และไม่มีความถนัดจริงๆ แต่บังเอิญทำคะแนนได้ดี! สุดท้ายก็ไม่มีความสุขในชีวิต เรียนไปเครียดไป เป็นสาเหตุของโรคร้าย ทำร้ายตัวเองทางอ้อม ซึ่งเท่ากับจุดระเบิดเวลาฆ่าตัวตายแบบผ่อนส่ง
     
       ซุนวูเขียนไว้ในตำรายุทธพิชัยของเขาว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” เด็กไทยไม่รู้เรา รู้แต่เขา แถมบางทีอาจรู้ครึ่งๆ กลางๆ จะไปชนะใครได้?
     
       วันที่ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ ผมตกตะลึงอย่างเบิกบานใจ เหตุเพราะถูกชโลมด้วยแสงแห่งความหวังที่ฉายส่องแสดงทางรอดของการศึกษาไทยให้กระจ่าง แนวคิดทางการศึกษาของประเทศอังกฤษสอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า อิทธิบาท ๔ อันหมายถึงวิถีหรือหนทางสู่ความสำเร็จสี่ประการ โดยมี ข้อที่หนึ่งซึ่งก็คือ “ฉันทะ” เป็นตัวนำ ฉันทะ หมายถึง ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น การศึกษาของประเทศอังกฤษเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนด้วยฉันทะ มีความรักความชอบเป็นตัวนำ การเรียนอะไรด้วยใจรัก เปรียบเหมือนรถที่ออกตัวด้วยความแรง ซึ่งแน่นอนว่า หากมุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรขับอย่างมีสติต่อไป ย่อมถึงจุดหมายได้ไม่ยาก
     
       แล้วเด็กเราล่ะ เอาอะไรเป็นตัวนำ?
     
       การศึกษาดีๆ มีให้เห็นเป็นตัวอย่าง ศธ.หรือใครก็ตามที่มีอำนาจ เคยคิดเอามาใช้บ้างไหม?
     
       ไม่เคยเห็น ไม่เคยสนใจและใส่ใจเอามาใช้ เพราะเป็นกบในกะลา หรือวันๆ มุ่งแต่จะโกงกิน?
     
       ตอนต่อไป ผมจะมาเล่าสู่กันฟังครับว่า บ้านเขาจัดการเรียนการสอนกันอย่างไรจึงสามารถผลิตพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ และบ้านเราจัดการเรียนการสอนกันอย่างไร เราถึงได้เป็นประเทศที่ “กำลังพัฒนา” แต่ไม่ยอมเป็นประเทศ “พัฒนาแล้ว” เสียที!
       

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การจัดอันดับการศึกษาไทยในปี 2556



                   การจัดอันดับการศึกษาไทยในปี 2556



การจัดอันดับการศึกษาไทยใ

มองจุดอ่อนการศึกษาไทย
"แม้จะอยู่กลางๆ แต่ประมาทไม่ได้ เพราะในระยะ 8 ปีที่ผ่านมา อันดับรวมของกัมพูชาสูงขึ้นมา 23 อันดับ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์สูงขึ้นมา 19 อันดับ หากไทยยังย่ำอยู่ที่เดิม อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราอาจเห็นแต่หลังเพื่อนอาเซียนทุกคนก็เป็นได้"
และล่าสุด WEF ยังได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ รายงานการศึกษาปีนี้ (2556-2557) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 37 จาก 148 ประเทศ แม้ว่าอันดับของไทยจะดีขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้วอยู่ในอันดับที่ 38 จาก 144 ประเทศ 

ที่มาที่ไปของการจัดอันดับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จึงได้ค้นคว้าวิธีประเมินของ WEF มาเล่าแบบง่ายๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงมุมมองของนักธุรกิจโลกที่มีต่อศักยภาพการแข่งขัน ของไทย โดยเฉพาะการศึกษา ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพของคนในประเทศนั้นๆ 

WEF เริ่มจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ครั้งแรกในปี 2547 โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ จึงโยงการศึกษาในฐานะปัจจัยหนุนหรือถ่วงการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะเกี่ยวกับ ภาคเอกชน เศรษฐกิจไทยเราอยู่ในกลุ่มระดับกลางที่แข่งขันด้วยประสิทธิภาพและต้นทุนการ ผลิตที่ต่ำ ส่วนประเทศกลุ่มที่อยู่ระดับเหนือกลุ่มเรามักจะแข่งขันด้วยการผลิตนวัตกรรม ใหม่ๆ แต่ประเทศกลุ่มต่ำกว่ากลุ่มเรามักจะขุดทรัพยากรออกมาขายหรือใช้
การศึกษาไทยจึงสำคัญเนื่องจากแรงงานที่มีทักษะความสามารถเท่า นั้นจึงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และหากคนไทยมีทักษะสูงขึ้นไปก็จะเอื้อให้เราก้าวขึ้นไปสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม ได้
สำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาไทย WEF ประเมินด้วยตัวชี้วัดทั้งหมด 10 ตัว ใน 2 หมวด ได้แก่ หมวดที่เรียกว่า “การศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม” ใช้ตัวชี้วัดเกี่ยวกับมัธยมศึกษาจนถึงอุดมศึกษาและการพัฒนาทักษะขั้นสูง ประเทศไทยได้อันดับที่ 66 ของโลกในหมวดนี้
ในขณะที่ผลประเมินประถมศึกษาแยกไปรวมอยู่กับหมวดที่เรียกว่า “สาธารณสุขและประถมศึกษา” ซึ่งประเทศไทยได้อันดับ 81 ของโลก โดยเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งมี 10 ประเทศ ประเทศไทยได้อันดับที่ 5 ในหมวด “การศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม” และอันดับที่ 7 ในหมวด “สาธารณสุขและประถมศึกษา”
 
แม้จะอยู่กลางๆ แต่ประมาทไม่ได้ เพราะในระยะ 8 ปีที่ผ่านมา อันดับรวมของกัมพูชาสูงขึ้นมา 23 อันดับ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์สูงขึ้นมา 19 อันดับ สิงคโปร์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอันดับที่ 8 ในปี 2549 เป็นอันดับที่ 2 ในปี 2554 ในขณะที่มาเลเซียกับไทยอันดับถดถอยลง 4 และ5 อันดับ ตามลำดับ ดังนั้นหากฟิลิปปินส์ ลาว พม่า อินโดนีเซียก้าวไปข้างหน้า โดยที่ไทยยังคงย่ำอยู่ที่เดิม ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราอาจเห็นแต่หลังเพื่อนอาเซียนทุกคนก็เป็นได้
ทั้งนี้ WEF บ่งบอกว่าประเทศไทยควรแก้ไขระบบการศึกษาที่จุดใด เรามีจุดอ่อนแทบทุกตัวชี้วัด (ดูตาราง) แต่ตัวที่สะดุดตาเพราะรั้งท้ายในอาเซียนน่าจะได้แก่ 1.อัตราเข้าเรียนประถมศึกษา 2. คุณภาพระบบการศึกษา และ 3. คุณภาพประถมศึกษา หมายเลข (3) “คุณภาพประถมศึกษา” นั้นมีความหมายตรงไปตรงมา หมายเลข (2) “คุณภาพระบบการศึกษา” ใช้คำถามอยู่ในหมวดการศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม ตัวชี้วัดข้อนี้จึงบ่งชี้ภาพกว้างของคุณภาพของมหาวิทยาลัย อาชีวะขั้นสูงรวมถึงมัธยมศึกษา โดยรายงานหน้า 35 WEF ใช้คำบรรยายว่าคุณภาพการศึกษาขั้นสูงของไทยอยู่ระดับ“ต่ำผิดปกติ”





















วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

มาตรฐานจรรยาบรรณในวิชาชีพครู

มาตรฐานจรรยาบรรณในวิชาชีพครู 

                         ความหมาย 

      จรรยาบรรณในวิชาชีพหมายถึงประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อผดุงเกียรติและสถานะของวิชาชีพนั้นก็ได้ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ จะต้องได้รับโทษโดยว่ากล่าว ตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้ 
                          ความสำคัญ
    จรรยาบรรณในวิชาจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะจำแนกอาชีพว่าเป็นวิชาชีพหรือไม่ อาชีพที่เป็น วิชาชีพ นั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับ และมีการกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า จรรยาบรรณ ส่วนลักษณะ วิชาชีพ  ที่สำคัญคือ เป็นอาชีพที่มีศาสตร์ชั้นสูงรองรับ มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการสอนศาสตร์ดังกล่าวในระดับอุดมศึกษาทั้งการสอนด้วยทฤษฏีและการปฏิบัติจนผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีประสบการณ์ในศาสตร์นั้น นอกจากนี้จะต้องมีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนมี จรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนดในจรรยาบรรณวิชาชีพทั่วไป คือ แนวความประพฤติปฏิบัติที่มีต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน ต่อตนเอง และต่อสังคม ดังนี้ 

                        จรรยาบรรณต่ออาชีพ 
  ผู้ที่อยู่ในวงวิชาชีพจะต้องยึดถือจรรยาบรรณ ในการดำรงวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับ คือ 
1. ศรัทธาต่อวิชาชีพ ผู้ที่อยู่ในวงการวิชาชีพครู ต้องมีความรักและศรัทธาต่อวิชาชีพครู เห็นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในฐานะที่เป็นอาชีพที่สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนที่พึงประสงค์ของสังคม ผู้อยู่ในวิชาชีพจะต้องมั่นใจ ในกาประกอบวิชาชีพนี้ด้วยความรัก และชื่นชมในความสำคัญของวิชาชีพ 
2. ธำรงและปกป้องวิชาชีพ สมาชิกของสังคมวิชาชีพต้องมีจิตสำนึกในการธำรง ปกป้อง และรักษาเกียรติภูมิของวิชา ไม่ให้ใครมาดูหมิ่นดูแคลน หรือเหยียบย่ำ ทำให้สถานะของวิชาชีพต้องตกต่ำ หรือ มัวหมองการธำรงปกป้องต้องกระทำทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาหรือต้องมีการแก้ไขข่าวหรือประท้วงหากมีข่าวคราวอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อวิชาชีพ 
3. พัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพ หน้าที่ของสมาชิกในวงการวิชาชีพคือ การที่ต้องรับผิดชอบในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย สร้างความรู้และเผยแพร่ความรู้ เพื่อทำให้วิทยาการในศาสตร์สาขาวิชาชีพครูก้าวหน้าทันสังคมทันเหตุการณ์ ก่อประโยชน์ต่อประชาชนในสังคม ทำให้คนเก่ง และฉลาดขึ้น โดยวิธีการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักเรียน ใฝ่รู้ ช่างคิด ทีวิจารณญาณ มีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ มากขึ้น 
4. สร้างองค์กรวิชาชีพให้แข็งแกร่งสมาชิกในวงวิชาชีพต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสร้างองค์กรวิชาชีพให้คงมั่นธำรงอยู่ได้ด้วยการเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิก และเป็นเวทีให้คนในวงการได้แสดง ฝีมือและความสามารถทางการสร้างรูปแบบใหม่ของการเรียนการสอนตลอดจนการเผยแพร่ผลงานทางด้านการสร้างแบบเรียนใหม่ ๆ การเสนอแนวความคิดห่าในเรื่องของการพัฒนาคน การเรียนการสอน และการประเมินผล 
5. ร่วมมือในกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพ สมาชิกในสังคมวิชาชีพต้องร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในเรื่องของความคิด หรือการจัดประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร หากไม่ได้รับความสนับสนุนจากสมาชิกแล้ว ทำให้องค์กรวิชาชีพขาดความสำคัญลงและไม่สามารถดำเนินภารกิจขององค์กรวิชาชีพต่อไปได้บทบาทของการธำรงมาตรฐานและการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการก็ย่อมจะลดลงด้วย ถ้าไม่มีปริมาณสมาชิกที่สนับสนุนเพียงพอ 


    จรรยาบรรณต่อผู้เรียน 
ครูจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติต่อผู้เรียน 9 ประการ คือ 
1. ตั้งใจถ่ายทอดวิชาการ บทบาทของครูต้องพยายามที่จะทำให้ลูกศิษย์เรียนด้วยความสุข เรียนด้วยความเข้าใจ และเกิดความมานะพยายามที่จะรู้ในศาสตร์นั้น ครูจึงต้องตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะศึกษาวิชาการทั้งทางศาสตร์ที่จะสอน ศาสตร์ที่จะถ่ายทอดหรือวิธีการสอน ครูต้องพยายามที่จะหาวิธีการใหม่ ๆ มาลองทดลองสอน 
2. รักและเข้าใจศิษย์ ครูต้องพยายามศึกษาธรรมชาติของวัยรุ่น ว่ามีปัญหามีความไวต่อความรู้สึก (sensitve) และอารมณ์ไม่มั่นคง ครูจึงควรให้อภัย เข้าใจ และหาวิธีการให้ศิษย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ครูต้องพยายามทำให้ลูกศิษย์รักและไว้ใจเพื่อที่จะได้กล้าปรึกษาในสิ่งต่างๆแล้วครูก็จะสามารถช่วยให้ศิษย์ประสบความสำเร็จในการเรียน และการดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้อง 
3.ส่งเสริมการเรียนรู้ปัจจุบันการส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองหรือการเรียนรู้จากการช่วยเหลือกันในกลุ่มอาจจะทำให้ผู้เรียนมีวิธีการหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตนเองมากขึ้นมากกว่าจะคอยให้ครูบอกให้แต่ฝ่ายเดียว ครูจึงจำเป็นต้องชี้ช่องทางให้ผู้เรียนหาวิธีการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น 
4. ยุติธรรม อาชีพครูเป็นอาชีพที่จะต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนซื่อสัตย์ ยุติธรรม ไม่มีอคติลำเอียงต่อลูกศิษย์ ไม่เห็นว่าคนที่มีปัญหาเป็นคนน่ารังเกียจ หรือพอใจแต่เฉพาะศิษย์ที่เรียนเก่ง ไม่สร้างปัญหาเท่านั้น ครูต้องมีความเป็นธรรมในการให้คะแนน และพร้อมที่จะอธิบายวิธีการให้คะแนน และการตัดเกรดได้ ครูต้องรอบคอบในการรอกคะแนน เพราะถ้าผิดพลาดแล้วบางครั้งก็จะทำให้ผู้เรียนที่ควรได้คะแนนดี ๆ กลับได้คะแนนเกือบจะสอบตกไป 
5. ไม่แสวงหาประโยชน์จากผู้เรียน ลักษณะของครูจะต้องเป็นผู้ไม่แสวงหาอามิสสินจ้าง เงินไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสุขเสมอไป ครูจึงจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการกระทำใด ๆ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่า ครูกำลังหาประโยชน์จากศิษย์อย่างไม่เป็นธรรม 
6. ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ครูมีอิทธิพลต่อศิษย์ทั้งด้านวาจา ความคิด บุคลิกภาพ และความประพฤติ ครูจึงจะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกศิษย์ได้ซึมซับสิ่งที่ทำจากตัวครูไป เมื่อศิษย์เกิดศรัทธาในความสามารถของครู ศิษย์อาจจะเลียนแบบความประพฤติของครูไปอย่างไม่ได้เจตนา เช่น การตรงต่อเวลา การพูดจาชัดเจน การแสดงความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา สุภาพเรียบร้อย เป็นต้น 
7.ให้เกียรติผู้เรียน การยกย่องให้เกียรติผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ และเกรงใจผู้สอน ครูไม่ควรใช้อำนาจในทางที่ผิด เช่น พูดจาข่มขู่ ใช้คำพูดไม่สุภาพ เปลี่ยนชื่อผู้เรียน เยาะหยันหรือดูถูกผู้เรียน การเคารพผู้เรียนในฐานะปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจ และการเรียนรู้ที่ดี เมื่อผู้เรียนได้รับการปฏิบัติอย่างดี ย่อมก่อให้เกิดพลังในการศึกษาต่อไป 
8.อบรมบ่มนิสัย ม.ล. ปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีบทบาทหน้าที่ในการอบรมบ่มนิสัยเด็ก โดยท่านเชื่อว่า การอบรมบ่มนิสัยใคร ๆนั้นเพียงแค่วันละนาทีก็ดีถมดังนั้นครูควรแบ่งเวลาในการอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน เช่น ก่อนการสอนแต่ละชั่วโมงอาจชี้แนะหรือให้ความคิดที่ดีแก่ผู้เรียนได้ ครูควรถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสอนคนให้เป็นคนดี 
9.ช่วยเหลือศิษย์ผู้เรียนมาอยู่ในสถานศึกษาพร้อมด้วยประสบการณ์และปัญหาที่แตกต่างกันออกไปดังนั้นครูจึงมีหน้าที่ที่จะต้องสังเกตความผิดปกติหรือข้อบกพร่องของศิษย์ และพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้ศิษย์ต้องก้าวถลำลึกลงไปในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ 
นอกจากจรรยาบรรณต่อศิษย์แล้ว ครูจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ด้วยคือ จรรยาบรรณต่อตนเอง ครูจะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลาเพื่อให้มีลักษณะพฤติกรรม ดังนี้ 
1.ประพฤติชอบ ครูต้องตั้งตนไว้ในที่ถูกที่ควรสามารถบังคับตนเองให้ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงามถูกต้อง 
2.รับผิดชอบ ครูต้องฝึกความรับผิดชอบ โดยตั้งใจทำงานให้สำเร็จลุล่วง มีความผิดพลาดน้อย 
3.มีเหตุผล ครูต้องฝึกถามคำถามตนเองบ่อย ๆ ฝึกความคิดวิเคราะห์หาเหตุหาผล หาข้อดีข้อเสียของตนเอง
และเรื่องต่าง ๆ เพื่อทำให้ตนเองเป็นคนมีเหตุผลที่ดี 
4.ใฝ่รู้ การติดตามข่าวสารข้อมูลอยู่เสมอ ๆ ทำให้ครูมีนิสัยใฝ่รู้ อยากทราบคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ครูควรมีความรู้รอบตัวอย่างดีทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เพื่อให้ครูดำรงชีพในสังคมได้อย่างเป็นสุข ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ และชี้แนะสิ่งที่ถูกต้องให้ศิษย์ได้                                                                
5.รอบคอบ ครูต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนรอบคอบ ละเอียดและประณีต ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ การทำกิจกรรม เช่น ควบคุมบัญชีการเงินต้องรอบคอบ ต้องเห็นตัวเลขชัดเจนไม่ตกหล่น ทำให้เกิดการผิดพลาดที่เป็นผลร้ายทั้งของตนเองและผู้อื่น                                                                                                                                                               6.ฝึกจิต การพัฒนาจิต ทำให้ครูอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและส่งผลทำให้ครูทำงานได้อย่างมีประสิทธิถาพมากขึ้นครูจึงต้องหมั่นฝึกจิตของตนให้สูงส่ง สูงกว่ามาตรฐาน ระงับอารมณ์ไม่ดี คิดอะไรได้สูงกว่ามาตรบานและคิดเป็นบวก มากกว่าคิดลบหรือคิดร้าย                                                                                                                                7.สนใจศิษย์ การสนใจพัฒนาการของผู้เรียน เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้า เพราะถ้าไม่มีผู้เรียนก็ไม่มีวิชาชีพครู ครูจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับลักษณะธรรมชาติผู้เรียน การแก้ปัญหาผู้เรียน การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 
สรุปได้ว่า จรรยาบรรณ คือ ประมวลพฤติกรรมที่กำหนด ลักษณะมาตรฐานการกระทำของครู อันจะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้าอย่างถาวร โดยที่ครูจะต้องดำเนินการเรียนการสอนโดยการยึดจรรยาบรรณต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน และต่อตนเอง ในการทำหน้าที่ของครูให้สมบูรณ์ . 








                               

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

ครูมืออาชีพ : สิ่งจำเป็นที่ควรมีและควรเป็น



ครูมืออาชีพ  : สิ่งจำเป็นที่ควรมีและควรเป็น


              รศ.ดร.ศักดิ์ไทย   สุรกิจบวร

             ทุกคน ทุกอาชีพในโลกต้องมีครูเป็นที่พึ่งครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง (profession) ที่ได้รับการยอมรับมาช้านานกว่าร้อยปีอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะประเทศไทย ความเป็นวิชาชีพของอาชีพครู มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 6 ประการคือ
               - วิชาชีพที่ให้การบริหารแก่สังคมในลักษณะที่มีความจำเป็นและเจาะจง (social service)
               - สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจะต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริหาร (intellectual method)
               - สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจักต้องได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้ กว้างขวางลึกซึ้ง โดยใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร (long period training )
               - สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจักต้องมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพนั้น ๆ ตามมาตรฐานของวิชาชีพ (Professional autonomy) 
               - วิชาชีพครูจะต้องมีจรรยาบรรณ (professional ethics) และ
               - วิชาชีพครูจะต้องมีสถาบันวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์ จรรโลงความเป็นมาตรฐานวิชาชีพ (professional institute)
               เนื่องจากความเป็นมืออาชีพ (professional) จึงมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ
               - บุคคลนั้นต้องยึดถืออาชีพนั้น ๆ ให้สอดคล้องกับวิชาชีพของตน
               - บุคคลนั้นจะต้องมีความรู้ เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และมีทักษะที่เหมาะสมต่อวิชาชีพนั้น ๆ
               - บุคคลนั้นจะต้องมีจิตวิญญาณต่ออาชีพ กล้ารับผิดชอบ กล้าเผชิญต่อผลการกระทำอันเนื่องมาจากภารกิจที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

*ประธานดำเนินการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


           ความเป็นมืออาชีพของครู จึงควรที่จะต้องยึดถือและปฏิบัติให้เกิดความสัมพันธ์กับมาตรฐานของวิชาชีพครู ซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นต่อครูทุกคน ทั้งนี้เนื่องจากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ ทำให้       มีความจำเป็นที่บุคคลจักต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกระดับ ให้มีความสำนึกต่อบทบาทและภารกิจต่าง ๆ ที่มีต่อสังคมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พร้อมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับและกติกาทางสังคมแห่งยุคประชาธิปไตย เป็นสิ่งบ่งบอกว่าต่อไปนี้ สังคม องค์การ หน่วยงาน และหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ มีความต้องการ “ครูมืออาชีพ” มิใช่เพียงแต่มี “อาชีพครู” เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งตามทัศนะของผู้เขียนแล้ว “ครูมืออาชีพ” จักต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
    1.ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน
    2.ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ
    3.ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ครูมืออาชีพต้องมีคุณภาพการสอน
               สิ่งที่ครูมืออาชีพควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือ “คุณภาพการสอน” ซึ่งเป็นความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน
               ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้
               1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
               2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
               3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
               4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ  บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
               5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
               6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน
               7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
               8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้
ครูสอนดีต้องมีหลักในการสอน
การสอนที่ดีและมีคุณภาพย่อมต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ ๆ 20 ประการ ดังนี้
1.ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง
2.วางแผนการสอนอย่างดี
3.มีกิจกรรม/ทำอุปกรณ์
4.สอนจากง่ายไปหายาก
5.วิธีสอนหลากหลายชนิด
6.สอนให้คิดมากกว่าจำ
7.สอนให้ทำมากกว่าท่อง
8.แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร
9.ต้องชำนาญการจูงใจ
10.อย่าลืมใช้จิตวิทยา
11.ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน
12.ต้องผูกพันห่วงหาศิษย์
13.เฝ้าตามติดพฤติกรรม
14.อย่าทำตัวเป็นทรราช
15.สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว
16.ประพฤติตัวตามที่สอน
17.อย่าตัดรอนกำลังใจ
18.ให้เทคนิคการประเมิน
19.ผู้เรียนเพลินมีความสุข
20.ครูสนุกกับการเรียน

(รศ.ดร.ทองคูณ หงส์พันธุ์, 2544)
สรุปตอนท้ายว่า “การสอน” เป็นภารกิจหลักของครู ครูมืออาชีพจึงต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียน และเยาวชนของชาติ การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า “คุณภาพของเด็ก” สะท้อน “คุณภาพของครู” ดังนั้นครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือ ต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ ฉันทะ เมตตา และ กัลยาณมิตร ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู และพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไป
       ขอให้ครูมืออาชีพทุกท่านจงรวมพลัง สร้างสรรค์ พัฒนาอาชีพครู เพื่อมุ่งสู่ความเป็นครูมืออาชีพ ด้วยความมุ่งมั่นต่อไป ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจแด่ทุกท่านเสมอและตลอดไป.
 
ความเป็นมืออาชีพของครู
ความเป็นมืออาชีพของครูจึงควรที่จะต้องยึดถือและปฏิบัติให้เกิดความสัมพันธ์กับมาตรฐานของวิชาชีพครูซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นต่อครูทุกคนทั้งนี้เนื่องจากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์
ทำให้ มีความจำเป็นที่บุคคลจักต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกระดับห้มีความสำนึกต่อบทบาทและภารกิจต่าง ๆ ที่มีต่อสังคมมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 
พร้อมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับและกติกาทางสังคมแห่งยุคประชาธิปไตย เป็นสิ่งบ่งบอกว่าต่อไปนี้ สังคม องค์การ หน่วยงาน 
และหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ มีความต้องการ "ครูมืออาชีพ" มิใช่เพียงแต่มี "อาชีพครู" เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งตามทัศนะของผู้เขียนแล้ว "ครูมืออาชีพ" 
จักต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ 
1. ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน
2. ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ
3. ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ 
ครูมืออาชีพต้องมีคุณภาพการสอน สิ่งที่ครูมืออาชีพควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือ "คุณภาพการสอน" 
ซึ่งเป็นความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้ 
1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น 
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ 
4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน 
5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน 
7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้





วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทสรุปการศึกษาไทย

  

                             บทสรุปการศึกษาไทย

     การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและสร้างทักษะของบุคคลให้รู้จักดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข มีพฤติกรรมใฝ่รู้ที่จะเป็นพลังปัญญาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีช่วยขัดเกลาให้คนละอายต่อบาป มีทักษะในการประกอบอาชีพ เคารพกฎหมาย รู้คุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชาติ ตลอดจนสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ อีกทั้งสามารถช่วยสร้างสรรค์สังคมและพัฒนาประเทศชาติ ในการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีปรัชญาที่นิยมนำมาจัดการศึกษาได้แก่ ลัทธินิรันตรนิยม (Perennialism) สารัตถนิยม (Essentialism) พัฒนาการนิยม (Pregressivism) บูรณาการนิยม (Reconstructionism) และอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) สำหรับปรัชญาการศึกษาไทยเป็นแบบผสมผสานระหว่างแนวคิดของชาติตะวันตกและอิงพุทธศาสนาประเทศไทยมีประวัติความเป็นมากับการศึกษาเป็นเวลาอันยาวนาน
 (1) การศึกษาไทยในสมัยโบราณ (พ.ศ. 1781 – พ.ศ. 2411) ยังไม่มีโรงเรียนแก่เด็กไทยในสมัยนั้นสามารถหาความรู้ได้จากที่บ้าน สำนักสงฆ์ วิชาที่สอนไม่ได้ตายตัว มีความรู้สามัญเพื่ออ่านออกเขียนได้ วิชาชีพ วิชา จริยศึกษา และศิลปะป้องกันตัว
(2) การศึกษาในสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 – พ.ศ. 2475) ผลจากการเข้ามาของชาวตะวันตกและการเปิดประเทศค้าขายกับตะวันตกนั้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการเมืองการปกครอง และการศึกษาจึงได้มีความสำคัญขึ้นเพื่อพัฒนาคนเข้ามารับ ราชการนำไปสู่การเปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัย จึงทำให้มีการจัดทำแผนแม่บทในการศึกษาเรียกว่าโครงการศึกษาฉบับแรกพ.ศ. 2441
(3) การศึกษาสมัยปกครองตามระบอบ รัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) การศึกษามีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากต้องการพัฒนาคนให้เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย อีกทั้งเป็นเรื่องของสิทธิของประชาชนในการเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายปกครอง โครงการศึกษาได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ได้เปลี่ยนชื่อแผนการศึกษาชาติมาเป็นแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 และมีพระราชบัญญัติศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อมุ่งหวังว่าคนไทยสามารถปรับตัวได้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลงและเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพจึงได้จัดทำแผนการศึกษาระยะยาว 15 ปี เรียกว่า แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545-2559


การเปลี่ยนแปลงสู่เทคโนโลยี