วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปรัชญาบริสุทธิ์

 ปรัชญากับปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาหรือปรัชญาทั่วไปกับปรัชญาการศึกษามีความใกล้ชิดกันมาก ปรัชญาทั่วไปเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ
ความจริง วิธีการค้นหาความจริงและคุณค่าของสิ่งต่างๆในสังคม แต่ปรัชญาการศึกษาเป็นการนำเอาปรัชญาทั่วไป
มาประยุกต์เพื่อนำไปจัดการศึกษา ซึ่งการจัดการศึกษาทำไปเพื่อพัฒนาบุคคลพัฒนาสังคมชุมชนให้เกิดความสงบ
สุข อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้น ปรัชญาทั่วไปกับปรัชญาการศึกษาจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก
การที่กล่าวว่าปรัชญากับปรัชญาการศึกษามีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันนั้น อาจพิจารณาได้
จากนักปรัชญาและนักการศึกษาที่มีแนวคิดชั้นนำตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบันมักเป็นบุคคล คนเดียวกัน เช่น
John Locke, Immanuel Kant, Johann Herbart, John Dewey เป็นต้น นอกจากนี้ ไม่เพียงแต่จุดเริ่มต้นและวิวัฒนาการ
ของปรัชญาและปรัชญาการศึกษาเท่านั้นที่เหมือนกัน แต่ทั้งปรัชญาและปรัชญาการศึกษายังมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์
อย่างใกล้ชิดกันอีกด้วย กล่าวคือ ทั้งปรัชญาและปรัชญาการศึกษาจะสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ ซึ่งได้แก่
ธรรมชาติ ความรู้ ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของมนุษย์ และขณะเดียวกันสาขาวิชาทั้งสองต่างก็มีความสนใจร่วมกัน
ในเรื่องที่จะทำให้ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีสันติและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
 ข้อแตกต่างระหว่างปรัชญาการศึกษากับปรัชญาทั่วไป
ข้อแตกต่างระหว่างปรัชญาการศึกษาและปรัชญาทั่วไปคือ ปรัชญาทั่วไปเป็นปรัชญาบริสุทธิ์ แต่
ปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาประยุกต์ และถ้าจะพิจารณาโดยละเอียดแล้วปรัชญาทั่วไปกับปรัชญาการศึกษามี
ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. ปรัชญาการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับคำถามต่างๆ ในลักษณะเดียวกันกับปรัชญาบริสุทธิ์ ถึงแม้ว่า
บางครั้งคำถามจะไม่เหมือนกันก็ตาม แต่จุดหมายปลายทางของคำถามนั้น จะเป็นไปในทำนองเดียวกัน
เอกสารประกอบการสอน 475 759 การสอนทางกายภาพบำบัด 2550 โดย รศ.ดร.สมชาย รัตนทองคำ
2
ยกตัวอย่างเช่น ปรัชญาบริสุทธิ์ ถามว่า บุคคลเรียนรู้ได้อย่างไรนักปรัชญาการศึกษาจะถามต่อจากคำถามนี้
ต่อไปอีกขั้นหนึ่งก็คือ สภาพห้องเรียนควรจะเป็นอย่างไร ถ้าจะทำให้คนอยากเรียนรู้มากที่สุดเป็นต้น
2. ปรัชญาการศึกษาจะพูดถึงเรื่องเฉพาะที่จะนำไปใช้กับการศึกษาเท่านั้น การจะมองถึงปัญหา
เกี่ยวกับด้านการศึกษาได้อย่างลึกซึ้ง ก็จำเป็นจะต้องใช้ความเข้าใจในเรื่องปรัชญาทั่วไปด้วยทุกครั้งเสมอ
 ลักษณะของปรัชญาการศึกษา
ได้กล่าวมาแล้วว่าปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาที่ประยุกต์มาจากปรัชญาบริสุทธิ์ ดังนั้นลักษณะของ
ปรัชญาการศึกษาก็จะมีความคล้ายคลึงกับปรัชญาบริสุทธิ์นั่นเอง กล่าวคือ ปรัชญาการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับ
อภิปรัชญา (Metaphysics) ญาณวิทยา (Epistemology) และคุณวิทยา (Axiology) เช่นเดียวกันปรัชญาทั่วไป
1. อภิปรัชญา (Metaphysics หรือ Ontology) เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
เรื่องที่เกี่ยวข้องกับอภิปรัชญา ได้แก่ การเรียนรู้เพื่อหลักความจริงต่างๆ ตัวอย่างเช่น การกล่าวว่า
"มนุษย์ศึกษาเพื่อหลักความจริงต่างๆ" สิ่งที่นักศึกษาจะต้องคิดต่อไปก็คือ "ความจริงคืออะไร" ความจริงอาจจะ
เป็นวัตถุหรือสิ่งที่รับรู้ด้วยการสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ก็ได้ หรือความจริงอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มี
ตัวตน เป็นนามธรรมก็ได้ เช่น ความจริงที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ความดี ความถูกต้องดีงาม คำถามต่างๆ ที่มักถูก
ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ วรรณคดี ก็มักจะเกี่ยวข้องกับอภิปรัชญาอยู่มาก นักการศึกษาผู้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจ
ถึงอภิปรัชญาดีพอ ก็ย่อมจะเกิดความยากลำบากในการที่จะอธิบายปัญหาต่างๆกับผู้เรียนให้เข้าใจโดยแจ่มแจ้ง
2. ญาณวิทยา (Epistemology) และตรรกวิทยา (Logic) ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ญาณวิทยา (Epistemology) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความจริง ส่วนตรรกวิทยา เป็นเรื่อง
ที่เกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์ที่มาจากเหตุผล ทั้งญาณวิทยาและตรรกวิทยาจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจ
ปรัชญาในสาขานี้ ก็จะทำให้สามารถจัดการศึกาาหรือวิเคราะห์ปัญหาทางการศึกษาด้วยวิธีการอย่างฉลาด
3. คุณวิทยา (Axiology) ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
คุณวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับคุณค่า สามารถจำแนกออกเป็น 2 แขนง คือ สุนทรียศาสตร์
(Aesthetic) และจริยศาสตร์ (Ethics) คำถามหลักของคุณวิทยาคือ "อะไรคือความดี ความงาม" อย่างไรก็ตาม
นักจริยศาสตร์กับนักการศึกษาต่างก็ไม่ได้สนใจที่จะตั้งระบบจริยธรรมใดๆขึ้นมา แต่ทั้งนักจริยศาสตร์กับนัก
การศึกษาต่างก็ศึกษาพื้นฐานทางการศึกษาว่า อะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว อะไรคือความสวยงาม หรือ
อะไรคือความน่าเกลียด
ในทางปฏิบัติผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครู อาจไม่ต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของอภิปรัชญากับการศึกษาก็ได้ แต่หาก

ไม่เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับญาณวิทยา และตรรกศาสตร์แล้ว ก็อาจจะทำให้การจัดการศึกษาเป็นไปด้วยความลำบาก ส่วนคุณวิทยานั้น เป็นปัญหาที่ครูและนักเรียนจะต้องพบโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยกตัวอย่าง เข่น ในการสอนวิชาวรรณคดีหรือประวัติศาสตร์ ทั้งครูและนักเรียนก็มักจะพบว่าเรื่องที่กำลังศึกษาหรือเรียนอยู่นั้น ดี งาม ชั่วหรือเลวอย่างไร ครูที่มีความรู้ความเข้าใจว่าประเทศชาติ สังคม และชีวิตที่ดีคืออย่างไร ก็ย่อมจะสามารถกำหนดได้ว่าโรงเรียนและนักเรียนที่ดีควรเป็นเช่นใด ในทางตรงกันข้ามครูที่ไม่เข้าใจเรื่องคุณค่าต่างๆที่ดีพอ ก็ย่อมจะทำให้ไม่สามารถอบรมสั่งสอนนักเรียนให้ถูกต้องตามความต้องการของสังคมได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น